เตือน !!! โรคไข้ดิน หรือ โรคเมลิออยด์ พบเจอบ่อยฤดูฝน

กรณีพบ "โรคไข้ดิน" หรือ เมลิออยด์โดสิส ระบาด ในพื้นที่อำเภอเทพา จ.สงขลา ผู้ป่วย 7 ราย เสียชีวิตแล้ว 5 ราย ไปทำความรู้จักโรคไข้ดิน และแนวทางป้องกันการติดโรค

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "キ ระวัง! โรคเมลิออยโดสิส พบมากในฤดูฝน (โรคไข้ดิน) เป็นโรคติดเชื้อแคทีเียท่อใ จากการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานทน หรือ ผ่านทางบาดแผล รอมถัจหากเรน่เรารานเราน มักพบในกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคธาลัสชีเมีย มะเร็ง วัณโรค และภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น อาการ มีไข้สูง ไอ มีฝีหนองตามร่างกายเหรืออวัยระภายใน เช่น ปอด ตับ ม้าม ไต พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก หากอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ที้ ทั้งนี้ อาการ และความรุนแรงของโรค ขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกัน และปริมาณของเชื้อที่ได้รับ การป้องกัน หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่าโคลน หรือสัมผัสดิน และน้ำโดยตรง หากจำเป็นต้องสวมรองเท้ามูท ถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ หากมีมาตแผลที่ผิวหนัง ควรรีมทำความสะอาดนาดแผล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดิน และน้ำจนกว่าแผลนั้น จะแห้งสนิท รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด ฝ่ายสุขศึกษาและสื่อสารองค์คร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงลา ข้อมูล ល วันที่ 17ตุลาคม2565 17 ตุลาคม 2565 ที่มา กรมควบคุมโร"

ไข้ดิน หรือ โรคเมลืออยด์ (Melioidosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia pseudomallei ที่พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย พบการติดเชื้อได้บ่อยในผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคธาลัสซีเมีย โรคปอด โรคใต ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

โรคเมลิออยด์ ติดได้ทาง

1. การรับเชื้อผ่านบาดแผลที่ผิวหนัง

2. การดื่มน้ำหรือการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน

3. การสูดหายใจรับฝุ่นละอองที่มีเชื้อปนเปื้อน

อาการ

อาการทั่วไป คือ มีใช้ และมีฝีหนองที่ผิวหนังหรือบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่คอ อาจพบการติดเชื้อในอวัยวะภายในอื่น ๆ เช่น ปอด ตับ ม้าม ไต ไปจนถึงติดเชื้อในกระแสเลือดแบบเฉียบพลันอย่างรุนแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็วได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ อาการและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วย และปริมาณของเชื้อที่ได้รับ

การป้องกัน

1. หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือสัมผัสดินและน้ำโดยตรง หากจำเป็นต้องสวมรองเท้าบูทถุงมือยาง กางเกงขายาวหรือชุดลุยน้ำ

2. หากมีบาดแผลที่ผิวหนัง ควรรีบทำความสะอาดบาดแผล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสดินและน้ำจนกว่าแผลนั้นจะแห้งสนิท

3. รับประทานอาหารปรุงสุก ดื่มน้ำสะอาด

4. หลีกเลี่ยงการอยู่ที่โล่งแจ้งหรือลงไร่นา ในขณะที่มีพายุฝนหรือสภาพอากาศแปรปรวน

ที่มา : กรมควบคุมโรค

(ข้อมูล ณ วันที่ 17 ตุลาคม 2565)


image รูปภาพ
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar