ล๊อคดาวยะลา ส่งผลให้ราคา ทุเรียนลดลง พ่อค้าอ้างเข้าออกพื้นที่ลำบาก วอนให้ทางจังหวัดมีมาตรการที่ชัดเจน โดยเฉพาะควรอำนวยความสะดวกแก่พ่อค้ารับซื้อทุเรียนจากนอกพื้นที่

            วันที่ 29 มิ.ย. 64 ตามที่มีการออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินพ.ศ 2548 ฉบับที่ 25 ประกาศลงวันที่ 26 มิถุนายน 2564 มีผลตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เรื่องการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด-19 ที่เน้นย้ำมาตรการการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรองการเดินทางอย่างเข้มข้น เพื่อสกัดกั้นและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและเด็ดขาด โดยงดการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดและออกนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเดินทางออกนอกพื้นที่จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลาและสงขลา ทำให้ ชาวสวน ทุเรียน และ พ่อค้าทุเรียน กังวล อาจ ส่งกระทบต่อราคาทุเรียน      

            นายอนุวัฒน์ ทองธรรมชาติ กำนัน ตำบลตาชี อ.ยะหา จ.ยะลา กล่าวว่า หลังจากมีการล๊อคดาวส่งผลกระทบ ให้ราคา ทุเรียนบ้านลดลงกว่า สองสามวันที่ผ่านมา โดยพ่อค้าคนกลางอ้างว่า มีปัญหาในการ เดินทางรวมเข้า ออก พื้นที่ มีความยากลำบาก สำหรับทุเรียนบ้าน ในพื้นที่ ขณะนี้ถือว่าพึ่ง เริ่มฤดูกาล ได้ ประมาณสอง อาทิตย์ และ อาทิตย์หน้า ทุเรียนพันธ์ ชุดแรกจะสามารถ ตัด เพื่อ นำไปขายได้ ถือเป็นโอกาส ของชาวบ้าน ในพื้นที่ แต่ หลังจากทราบข่าวว่า มีการล๊อคดาว ทุกคนกังวลทันที โดยเฉพาะ กลุ่ม ธุรกิจรับเหมา ทุเรียนจาก ในสวน ซึ่ง ปีนี้ ถือว่า ราคา สูงขึ้น กว่าปีที่ผ่านมา ราคา เหมาทุเรียนในสวนปีที่ผ่านมา แปลงขนาดกลาง ที่มีต้นทุเรียน 10 กว่า ต้น ราคาหนึ่งล้านกว่าบาท ปีนี้เกือบสองล้านบาท ถ้า การล๊อคดาวส่งผลกระทบกับราคาทุเรียน ชาวสวน หรือ พ่อค้า เหมาสวนทุเรียนจะได้รับผลกระทบ ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านแน่นอน  บางคน เหมา แล้ว 4-5 ล้าน 10 ล้าน ต่อคน ในพื้นที่ จ.ยะลา ช่วงนี้ก็ถือเป็นโอกาสของชาวสวนที่พอจะ หายใจได้บ้าง แต่พอเป็นแบบนี้จบเลย 

            นายอนุวัฒน์ ยังกล่าวว่าอยากให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง ออกมาตราการที่ ชัดเจน ในส่วนของ ผู้ประกอบการ ชาวสวน ในการขนส่งสินค้า การเข้าออกพื้นที่ เพราะ ทั้งหมดนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาทุเรียนในอนาคตแน่นอน โดยเฉพาะทางจังหวัดยะลา ควรออกมาตราการให้ชัด พื้นที่ ทีมีการปิด เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยง เช่น อ.ธารโต ที่ พ่อค้าจากนอกพื้นที่ ไป เหมาไว้ล่วงหน้า จะมีมาตราการ ยึดหยุ่น ที่จะสามารถเข้าออกพื้นที่เพื่อเข้าไปเก็บผลผลิต ได้อย่างไรบ้าง เพราะทุเรียนไม่สามารถแขวนไว้ได้ เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวก็ต้องรีบตัดเอาไปขาย รอไว้ก็จะเสีย ซึ่ง ถ้ามตราการไม่ชัดเจน ผลกระทบ ไม่ใช่แค่ 100 ล้าน ขนาดวันแรก ที่มีการล๊อคดาว ก็ส่งผลให้ราคา ทุเรียนบ้านลดลง เพราะพ่อค้าอ้างเข้าออกพื้นที่ลำบาก 

            ทางด้าน นายมะยูโซะ อาบู ชาวสวนทุเรียน กล่าวว่า สวนทุเรียรของตน เจอปัญหาทุเรียนเป็นโรค บนต้นมีผลทุเรียนแต่พอร่วงลงมาทุเรียนเน่า ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน แบบนี้ โควิด ทุกอย่างแย่ ราคายางแย่ก็หวังว่า จะ มีโอกาส หารายได้ มาจาก ขายทุเรียน แต่ ทุเรียนมาเป็นโรคอีก อุตสาดูแล เฝ้ารอ แต่สุดท้ายพอมันร่วงลง เน่าทั้งลูก ทุกลูกเป็นแบบนั้นหมด อดเลยปีนี้ ถือว่า ดวงไม่ดี ที่ขายได้ ก็ถูก พ่อค้าบอก โควิดเขาล๊อคดาว ไม่มี เถ้าแก่มาซื้อ

 

#สำนักข่าว  #กรมประชาสัมพันธ์  #NNT #ILOVETHAILAND


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar