มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับ ศอ.บต. และจังหวัดสตูล บูรณาการลำเลียงน้ำดื่มสะอาด ส่ง ปชช. บนเกาะบุโหลน สตูล แก้วิกฤติน้ำแล้ง ด้านกรมชลประทาน ตั้งงบ 68 เตรียมซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำบนเกาะฯ ให้กลับมาใช้งานใหม่

มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัดสตูล ปภ.12 สงขลา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 5 กองทัพภาคที่ 4 กองบิน 56 กองทัพอากาศ ศรชล. กองทัพเรือจังหวัดสตูล การประปาส่วนภูมิภาคหาดใหญ่ อบจ.สตูล อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา และหน่วยงานท้องถิ่น ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ร่วมสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนเกาะบุโหลน ต.ปากน้ำ ที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ ตั้งแต่ปี 2566 เนื่องจากภาวะโลกร้อน สภาพอากาศที่แล้งจัด ทำให้อ่างเก็บน้ำเกาะบุโหลนขาดแคลนน้ำฝน ที่เป็นต้นทุนจากธรรมชาติ ประกอบกับถังน้ำเดิม มีตะกอนดินสะสมเป็นเวลานาน จึงมีสภาพพังเสียหาย ต้องได้รับการซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน เพื่อสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้โดยเร็ว

มูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับจังหวัดสตูล ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลำเลียงน้ำดื่มจำนวน 51,000 ขวด ส่งให้ประชาชนไว้ดื่มในช่วงเดือนรอมฎอนและในช่วงหน้าแล้งในปีนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น ส่วนระยะยาว ศอ.บต. ได้ประสานให้กรมชลประทาน ตั้งงบประมาณในปี 2568 ซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำบนเกาะที่พังเสียหาย มาหลายปีแล้วด้วย

พ.ต.ท. วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ขอบคุณทุกหน่วยงานที่ร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือประชาชนเกาะบุโหลนให้มีน้ำดื่มสะอาด ไว้ดื่มกินในช่วงเดือนรอมฎอน และในช่วงหน้าแล้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภา) ยามยาก สภากาชาดไทย สนับสนุนขวดน้ำ 51,000 ขวด และมีหน่วยงานร่วมบูรณาการช่วยเหลือมากกว่า 10 หน่วยงาน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสตูลนำทีมไปมอบน้ำดื่มให้ประชาชนที่เกาะบุโหลนเรียบร้อยแล้ว สร้างความปิติแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก

สำหรับ เกาะบุโหลน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล มีประชาชนอยู่อาศัยจำนวนกว่า 600 คน ในอดีตอุปโภคบริโภคน้ำจากการกักเก็บน้ำฝน และน้ำจืดสะอาดบ่อดินส่วนกลาง แต่ในปัจจุบัน ด้วยจำนวนประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แล้งจัด ส่งผลให้น้ำในบ่อแห้งแล้ง และไม่สามารถเก็บกักน้ำฝนในช่วงฤดูฝนได้ เนื่องจากถังเก็บน้ำมีตะกอนดินสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลให้ชาวบ้านต้องเดินทางออกมาซื้อน้ำในเมืองละงูมาดื่ม และใช้น้ำทะเลในการอุปโภค อาทิ อาบน้ำ ซักผ้า เป็นต้น


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar